มือใหม่ใครที่กำลังจะซื้อบ้านหรือสร้างบ้านเสร็จแล้ว แต่ยังเหลือขั้นตอนของการตรวจบ้านก่อนรับหรือโอนกรรมสิทธิ์ ถือเรื่องที่สำคัญมาก ๆ หากตรวจบ้านไม่ละเอียดพอแล้วเจอปัญหาภายหลัง อาจทำให้ต้องเสียเงินเองโดยใช่เหตุ แต่หากพบปัญหาก่อน เราก็สามารถแจ้งให้โครงการหรือผู้รับผิดชอบทราบได้ทันทีเพื่อแก้ไขจุดที่มีปัญหานั้นก่อนรับบ้าน
บทความนี้ สแควร์วัน อินสเปคเตอร์ จะมาบอก เช็คลิส 7 จุดสำคัญ ตรวจรับบ้านก่อนโอน สำหรับมือใหม่ว่าจะต้องตรวจอะไร และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง พร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย
พื้นที่แรกที่เราจะต้องตรวจคือ นอกตัวบ้าน ซึ่งจะแบ่งรายละเอียดการตรวจบ้านได้ดังนี้
ประตูรั้วใช้งานได้ปกติหรือไม่ มีเสียงดังเวลาเลื่อนหรือเปล่า เบียดหรือชนกับสิ่งปลูกสร้าง
รั้วต้องมีการทาสีกันสนิม ไม่มีรอยตามด ไม่เอียง ไม่ล้ม ไม่มีรอยแตกร้าว วัสดุติดต้ังถูกต้องและไม่ชำรุด รวมถึงไม่มีคราบความสกปรกจากการก่อสร้าง
ระดับดินเหมาะสมและถมเต็มพื้นที่ ไม่มีแอ่งน้ำขังหรือเนินสูงต่ำ ไม่มีเศษวัสดุก่อสร้างหรือขยะ ไม่มีวัชพืช ต้อนไม้แข็งแรงไม่เหี่ยวเฉา
มีรางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไม่ไหลย้อนเข้าตัวบ้าน ท่อระบายน้ำมีบ่อพัก บ่อพักน้ำ ถังดักไขมัน ถังบำบัดติดตั้งได้ตามมาตราฐาน สะอาด ไม่ทรุด และไม่แตก
พื้นเรียบเสมอ แข็งแรง ลาดเอียงในองศาที่พอเหมาะ เพื่อป้องกันน้ำขัง
ตรวจสอบรอยร้าวที่มีผลต่อโครงสร้างบ้าน การฉาบ การก่อ และการทาสี จะต้องได้ดิ่ง ได้ฉาก ได้มุม ไม่มีตามด ไม่มีความชื้นที่ผนัง สีต้องเรียบสม่ำเสมอ แต่หากเป็นวัสดุอื่นๆ จะต้องไม่มีรอย รอยร้าวบิ่น หรือบวม
โครงสร้างบ้านควรตรวจสอบระหว่างขั้นตอนก่อสร้าง แต่หากเป็นบ้านที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ การตรวจอาจจะทำได้ไม่ละเอียดเนื่องจากอาจถูกปกปิดด้วยการตกแต่ง แต่ก็ยังสามารถตรวจสอบตามจุดต่างๆ ได้ดังนี้
พื้นเรียบสม่ำเสมอ ไม่มีเศษวัสดุก่อสร้างหรือขยะ และต้องไม่แอ่นขึ้นมา
โครงสร้างหลังคาติดตั้งเรียบร้อยและได้มาตราฐาน โครงเหล็กหลังคาจะต้องทางสีเคลือบสนิม โครงเหล็กจะต้องมั่นคงและแข็งแรง การมุงหลังคาได้มาตราฐาน ไม่มีคราบน้ำฝน หรือรอยรั่ว การติดตั้งฉนวนกันความร้อน แผงกันนกกันแมลง ผนังไม่แตกร้าว รอยต่อชยฝ้า ผิวแผ่นฝ้าไม่ชรุชระ ไม่นูน หากเป็นไม้ฝ้าต้องเคลือบน้ำยาป้องกันปลวกทุกด้าน
เสาต้องไม่แอ่น ไม่มีรอยแตกร้าวหรือรอยแยกระหว่างเสากับผนัง
พื้นจะต้องเรียบเสมอกัน ไม่มีเศษวัสดุก่อสร้างหรือขยะ และต้องไม่แอ่นขึ้นมา
พื้นสามารถตรวจสอบความเรียบร้อยได้ด้วยการมองและการสัมผัส โดยมีจุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบดังนี้
พื้นผิวในบ้านจะต้องเรียบเสมอกัน สโลปของพื้นจะต้องได้มาตราฐานตามการใช้งาน พื้นผิวไม่นูนหรือยุบ กระเบื้องปูพื้นต้องได้ระดับ ไม่สะดุด ไม่มีรอยแตกร้าน สีไม่เพี้ยน ไม่มีปัญหาการกร่อนหรือปูนไม่เต็ม ยาแนวต้องเต็มและไม่เลอะคราบ รอยต่อต้องสนิทดี ไม่มีคราบสกปรก
พื้นผิวในห้องน้ำ ห้องซักล้าง ระเบียงหรือเฉลียง พื้นจะะต้องลาดเอียงในองศาที่พอเหมาะ เพื่อให้น้ำไม่ไหลย้อนเข้าตัวบ้านหรือมีแอ่งน้ำขัง เหมาะกับการระบายน้ำ
โครงสร้างของบันไดจะต้องได้มาตราฐาน หากเป็นบันไดไม้จะต้องไม่แตกไม่หัก ลูกนอนและลูกตั้งของบันไดต้องเท่ากันทุกขั้น ต้องได้ฉาก ได้แนว ไม่ส่งเสียงดัง วัสดุแข็งแรง ไม่โยก ไม่ขยับ
ทั้งผนังนอกบ้านและผนังในบ้านเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่มีพื้นผิวมากที่สุดของบ้าน ซึ่งรายละเอียดผนังในตัวบ้านที่ต้องตรวจสอบมีดังนี้
การติดตั้งวัสดุบุผนังจะต้องได้มาตราฐาน ต้องได้ดิ่งและได้ฉาก ผิวผนังปูนฉาบหนังต้องเรียบเนียนเสมอกัน ไม่มีสวนที่นูนออกมา ยุบหรือเป็นหลุม ไม่มีรอยร้าว สีไม่เพี้ยนถูกต้องตามแบบ บัวพื้น บัวเชิงผนัง บัวฝ้าเพดานการจิดตั้งจะต้องแนบสนิบไม่โก่งหรืองอ รอยต่อจะต้องต้องแนบสนิท ไม่มีรอยแตกระหว่างผนังกับพื้นและเพดาน
ส่วนใหญ่ฝ้าเพดานจะใช้วัสดุ 3 ชนิด เช่น ยิบซั่มบอร์ดฉาบเรียบ ฝ้าทีบาร์ และฝ้าแผ่นกระเบื้องซีเมนต์ โดยมีจุดที่ต้องตรวจสอบก็คือ สีของฝ้าเพดานจะต้องเรียบเนียบสวยงาม ไม่มีคราบสกปรก ระดับของฝ้าต้องไม่ตกท้องช้างหรือเว้าขึ้นบน ควรมีช่องสำหรับเปิดขึ้นไปตรวจสอบใต้หลังคาได้ การเชื่อมต่อฝ้าจะต้องไม่เห็นรอยต่อ ไม่คดงอ ได้มุมฉากทั้งหมด แต่หากเป็นฝ้าแผ่นกระเบื้องซีเมนต์รอยต่อจะต้องเสมอกัน
ช่องเปิดต่างๆในบ้าน เช่น ประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ บานเกล็ด เป็นต้น
การติดตั้งวงกบต้องแข็งแรง มีเสาเอ็น ทับหลังตามมาตราฐาน การติดตั้งบานพับบานปรตูหน้าต่างถูกวิธี กรอบของทุกช่องเปิดต้องได้แนว ได้ฉากและและขนาดที่ถูกต้อง ไม่มีช่องว่างระหว่างบานกรอบกับวงกบ เปิดปิดไม่สะดุดหรือติดขัด
กลอนและลูกบิดจะต้องติดตั้งได้ตามมาตราฐาน ใช้งานได้ ลงกลอนได้สุดทุกตัว มือจับและลูกบิดแข็งแรง ไม่หลวม หรือหลุดง่ายเมื่อออกแรงดึง
ระบบไฟฟ้าเป็นอีกจุดหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ โดยสามารถตรวจสอบได้ดังรายละเอียดดังนี้
ตู้ควบคุมไฟและเบรกเกอร์ตั้งได้ตามมาตราฐาน เบรกเกอร์กันไฟดูดทำงานตามปกติ
การร้อยสายไฟต้องเรียบร้อยตามมาตราฐาน แบบลอยต้องมีการตีกิ๊บ การเดินลอยบริเวณมุมต้องเข้ามุมสวยงาม ไม่มีรอยคล้ำหรือดำ
การติดตั้งสายดินต้องได้มาตราฐานต้องมีการเดินสายดินไว้อย่างเรียบร้อยทุกปลั๊กไฟฟ้า และต้องสอบถามที่ฝังแท่งเหล็กของสายดินให้ทราบชัดเจนว่าอยู๋ตรงไหน
ปลั๊กและสวิทช์ไฟฟ้าใช้งานได้ทุกจุด การเดินสายไฟ L N G ถูกตำแหน่งและได้มาตราฐาน สวิทช์ไฟเปิดปิดได้อย่างสะดวก ฝาครอบไม่มีรอยดำ
แสงไฟสว่างเท่ากัน ไฟติดทุกดวงตามปกติ รวมถึงกริ่งหน้าบ้านด้วย
ระบบประปาและสุขาภิบาลมีจุดสำคัญต้องตรวจสอบดังนี้
สุขภัณฑ์ อ่างล้างหน้า และอ่างอาบน้ำ จะต้องติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกต้อง ช่องน้ำล้นและสะดือระบายน้ำได้ดี ได้ระนาบและได้ฉาก มั่นคงแข็งแรง ไม่มีรอยด่างหรือคราบสกปรก สามารถกดน้ำชำระสิ่งปฏิกูลได้เป็นอย่างดี
น้ำไหลปกติ ใช้งานสะดวก ไม่ไหลช้าผิดปกติ เมื่อปิดก๊อกน้ำแล้วต้องไม่มีน้ำหยดซึม
สามารถระบายน้ำทิ้งได้ดีและรวดเร็ว มีการติดตั้งระบบดักกลิ่นด้วยท่อข้องอขังน้ำกันกลิ่น
ไม่มีน้ำรั่วซึมตามท่อ ทุกจุดของท่อและข้อต่อ เมื่อปิดระบบน้ำแล้วมิเตอร์ต้องหยุดเดิน ปั้มน้ำจะต้องไม่ทำงานเมื่อทำการปิดน้ำแล้วทุกจุด
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับเช็คลิส 7 จุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบบ้านก่อนรับหรือก่อนโอนกรรมสิทธิ์บ้าน เรียกได้ว่าว่าต้องใช้ความละเอียดมาก ๆ เลยใช่ไหมครับ และการจะเช็คให้ครบทุกซอกทุกมุมโดยอย่างละเอียดนั้น จะต้องใช้ความเชี่ยวชาญพอสมควรในการตรวจสอบ อาจจำเป็นต้องใช้บริการบริษัทรับตรวจบ้านเข้ามาช่วยตรวจสอบ
หากต้องการคำแนะนำเรายินดีให้คำปรึกษา “สแควร์วัน อินสเปคเตอร์ บริการรับตรวจบ้านเชียงใหม่” เราให้บริการรับตรวจบ้าน ตรวจคอนโด ตรวจอาคารก่อนโอน ตรวจอาคารก่อนซื้อขาย หรือตรวจอาคารระหว่างก่อสร้าง โดยทีมงานสถาปนิกและวิศวกรมีใบประกอบวิชาชีพและมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี ที่พร้อมบริการให้แก่คุณ
"Your property we care" รับตรวจบ้าน รับตรวจคอนโด เชียงใหม่ โดยทีมสถาปนิกและวิศวกรมืออาชีพ Building inspector Chaingmai