เตรียมตัวอย่างไร ถ้าบ้านคุณอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำ

เตรียมตัวอย่างไร ถ้าบ้านคุณอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำ

19 มิ.ย. 2568   ผู้เข้าชม 13

สำหรับใครที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำ วันนี้ที่ปรึกษางานก่อสร้างเชียงใหม่มีวิธีการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำมาบอกกัน เพราะบ้านที่มีเคยมีประวัติน้ำท่วมนั้นมีโอกาสสูงที่จะเกิดน้ำท่วมซ้ำ แต่ก็ไม่ต้องตื่นตระหนกไปเพราะหากเตรียมตัวดีและมีความพร้อมก็จะสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้

ที่ปรึกษางานก่อสร้างเชียงใหม่ เตรียมรับมือเมื่อบ้านเสี่ยงน้ำท่วมซ้ำ

1.สำรวจความเสี่ยงจากสภาพพื้นที่

ที่ปรึกษางานก่อสร้างเชียงใหม่แนะนำว่าควรตรวจสอบประวัติพื้นที่เพื่อวัดระดับน้ำในอดีตก่อนว่ามีความเสี่ยงระดับไหน และตำแหน่งที่ตั้งของบ้าน เช่น ตั้งอยู่ในจุดต่ำหรือเส้นทางน้ำไหล อยู่ใกล้คลองธรรมชาติหรือใกล้ทางระบายน้ำของชุมชน ก็มีโอกาสเกิดน้ำท่วมสูงกว่าพื้นที่สูง หรือบ้านที่มีระบบระบายน้ำดี

2.ปรับโครงสร้างรับมือกับความเสี่ยง

หากบ้านสร้างใหม่ควรกำหนดระดับพื้นบ้านให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมที่เคยเกิดขึ้นอย่างน้อย 30 - 50 เซนติเมตร, เพิ่มท่อระบายน้ำสำรอง เพื่อช่วยระบายน้ำออก, ติดตั้งระบบกันน้ำเข้าภายในบ้าน เช่น ประตูกันน้ำ ผนังกันซึม ช่องระบายลมที่ติดตั้งบานพับกันน้ำ, ใช้วัสดุกันชื้น กันน้ำ เพื่อง่ายต่อการซ่อมแซม เช่น กระเบื้องที่เช็ดทำความสะอาดง่าย แทนการใช้วัสดุไม้หรือวัสดุดูดซึมน้ำ

3.วางระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์สำคัญให้พ้นน้ำ

ไฟฟ้าเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้น ๆ เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม ควรวางปลั๊ก สวิตช์ และเบรกเกอร์ไว้ในตำแหน่งสูง โดยให้อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย 1.2 เมตร ติดตั้งเบรกเกอร์ระบบแยกเป็นโซนเพื่อปิดระบบไฟเฉพาะชั้นล่างได้ทันทีเมื่อเกิดน้ำท่วม ไม่ควรวางเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้กับพื้น ควรเตรียมสายไฟฉุกเฉินที่สามารถใช้งานเครื่องปั๊มน้ำหรือไฟส่องสว่างชั่วคราวได้

4.เตรียมพื้นที่เก็บของ

ยกของขึ้นที่สูง ควรเลือกใช้ชั้นวางของที่แข็งแรง เช่น โครงสร้างเหล็ก ที่สามารถรองรับน้ำหนักได้เยอะ เก็บของมีค่าหรือเอกสารสำคัญไว้ชั้นบน หรือในกล่องกันน้ำ ติดป้ายหรือจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจนเพื่อง่ายต่อการค้นหา

5.วางแผนการอพยพและเตรียมของฉุกเฉิน

การเตรียมตัวอพยพเป็นขั้นตอนที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากเกิดฉุกเฉิน เช่น ระดับน้ำท่วมสูงผิดปกติ เส้นทางตัดขาด หรืออื่น ๆ ได้เตรียมอพยพออกจากพื้นที่ได้ทัน เช่น วางแผนเส้นทางหนีน้ำ เตรียมกระเป๋าฉุกเฉินที่มีของจำเป็น เช่น อาหารแห้ง ยา เสื้อผ้าแห้ง ไฟฉาย เอกสารสำคัญ เงินสด และเบอร์ติดต่อของศูนย์ช่วยเหลือในพื้นที่

6.ทำแนวกั้นน้ำ

เช่น ถุงทราย หรือแผงกันน้ำชั่วคราว วางหน้าประตูและทางเข้าเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน

7.เตรียมอุปกรณ์ยังชีพให้พร้อม

เช่น น้ำดื่ม อาหารแห้ง ยาสามัญ ควรกักตุนให้เพียงพอสำหรับสมาชิกภายในบ้าน เพื่อป้องกันในกรณีที่น้ำท่วมขังเป็นเวลานานจนไม่สามารถออกไปซื้ออาหารได้

8.ทำประกันบ้านเพื่อคุ้มครองภัยธรรมชาติ

หากบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ควรเลือกทำประกันภัยบ้านที่ครอบคลุมภัยน้ำท่วมด้วย เพราะจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมได้ โดยเฉพาะหากต้องเปลี่ยนวัสดุหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าครั้งใหญ่ และควรตรวจสอบเงื่อนไขกรมธรรม์ให้ดีว่าคุ้มครองน้ำท่วมกรณีไหนบ้าง เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

ที่ปรึกษางานก่อสร้างเชียงใหม่กับการดูแลบ้านหลังน้ำลดอย่างถูกวิธี

1.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มการซ่อมแซมหรือดัดแปลง

ที่ปรึกษางานก่อสร้างเชียงใหม่แนะนำว่าการซ่อมบ้านหลังน้ำท่วมไม่ควรทำเองโดยไม่วางแผน เพราะอาจมีความเสียหายภายในที่มองไม่เห็น เช่น เสาเข็มที่รับน้ำหนักไม่ดี ระบบฐานรากเกิดการทรุดตัว วัสดุโครงสร้างเสื่อมสภาพจากน้ำท่วมขัง ควรให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบแก้ไขก่อน

2.ตรวจสอบโครงสร้างบ้าน

ผนัง พื้น ฝ้า ว่ามีรอยแตกร้าวหรือไม่ หากมีรอยแตกร้าวผิดปกติควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญ

3.ทำความสะอาดบ้านให้แห้งเร็วที่สุด

เพื่อป้องกันเชื้อราและกลิ่นอับ ไม่ควรปล่อยไว้นานเพราะจะทำให้เกิดคราบสะสม ทำให้ทำความสะอาดยาก เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์

4.ตรวจสอบระบบไฟฟ้าก่อนใช้งาน

ไม่ควรใช้งานโดยไม่ตรวจสอบ เพราะอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรจนทำให้เกิดอันตรายได้ ควรตรวจสอบโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ

และนี่คือการเตรียมรับมือน้ำท่วมที่ที่ปรึกษางานก่อสร้างเชียงใหม่นำมาฝากกัน หากใครที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือได้อย่างถูกวิธี และสำหรับใครที่กำลังจะซื้อบ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมก็อย่าลืมให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจบ้านก่อนโอนและประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าหากเกิดเหตุน้ำท่วมจะสามารถรับมือได้โดยไม่ทำให้โครงสร้างเกิดความเสียหาย


บทความน่าอ่านที่เกี่ยวข้อง

แบ่งงวดงานอย่างไร? ไม่ให้โดนเอาเปรียบ
28 ส.ค. 2567

แบ่งงวดงานอย่างไร? ไม่ให้โดนเอาเปรียบ

ที่ปรึกษางานก่อสร้าง
หน้าที่และความสำคัญของที่ปรึกษางานก่อสร้าง ในการสร้างบ้าน ตึก และอาคาร
28 พ.ค. 2566

หน้าที่และความสำคัญของที่ปรึกษางานก่อสร้าง ในการสร้างบ้าน ตึก และอาคาร

ที่ปรึกษางานก่อสร้าง